รับแปลเอกสาร ด้านวิทฯ เทคโนฯ และวิศวะ มีตัวอย่างให้ดู

หน้าแรก » หนังสือ สิ่งพิมพ์ และ เครื่องเขียน » หนังสือแปล

รับแปลเอกสาร ด้านวิทฯ เทคโนฯ และวิศวะ มีตัวอย่างให้ดู




รับแปลเอกสารด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และเทคโนโลยี
โดยนักแปลผู้มีประสบการณ์ ดูตัวอย่างงานแปลข้างล่าง
ราคาหน้าละ 150 - 200 บาท ราคาจะประเมินแจ้งให้ทราบก่อนแปล
สนใจใช้บริการติดต่อ
วุฒิ
โทร 0818843207




ตัวอย่างงานแปลตัวอย่างที่ 1
การผลิตกรดแลคติก โดยใช้วัตถุดิบเป็นต้นถั่วเหลืองที่ผ่านกระบวนการ Hydrolysis นำมาหมักด้วยจุลชีพสายพันธุ์ Lactobacillus sake และ Lactobacillus casei


บทคัดย่อ
ในแต่ละปี หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตถั่วเหลืองในประเทศจีน จะมีต้นถั่วเหลืองเหลือทิ้งปริมาณมหาศาล เราจึงจัดตั้งงานวิจัยนี้ขึ้นเพื่อหาทางใช้ประโยชน์จากต้นถั่วเหลืองเหล่า นั้น กระบวนการที่เสนอในงานวิจัยฉบับนี้ก็คือ ขั้นแรกใช้เอนไซม์ในการเตรียมต้นถั่วเหลืองขั้นต้น จากนั้นทำการผลิตออกมาเป็นกรดแลคติก โดยใช้จุลชีพสายพันธุ์ Lactobacillus sake และ Lactobacillus casei หมักต่อ เราได้ทำการทดลอง โดยใช้กระบวนการนี้และได้ผลปรากฏออกมาว่า เมื่อนำต้นถั่วเหลือง 1 กรัมไปผ่านกระบวน enzymatic saccharication จะได้ผลผลิตเป็นน้ำตาลที่ใช้หมักบ่มได้ออกมาถึง 242 มิลลิกรัม โดยมีระดับ saccharication ประมาณ 51เปอร์เซ็น น้ำตาลส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นจากต้นถั่วเหลืองที่ผ่านกระบวนการย่อยสลายด้วย น้ำ(hydrolysis)ในภาวะที่มีเอนไซม์เร่งปฏิกิริยา นี้ได้แก่ น้ำตาลกลูโครส,น้ำตาลไซโลส และน้ำตาล เซลโลบิโอส ผสมกันอยู่ในสัดส่วน 3.9 : 1.7 : 1 เมื่อนำเอาผลผลิตส่วนที่ผ่านการย่อยสลายแล้วนี้ไปหมักด้วยจุลชีพสายพันธุ์ L. sake และสายพันธุ์ L. casei ก็จะได้ผลผลิตสุดท้ายเป็นกรดแลคติก โดยมีค่า acid conversion เท่ากับ 48เปอร์เซ็น และ 56เปอร์เซ็น ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อทำการหมักด้วยเชื้อหมักผสมของจุลชีพทั้งสองสายพันธุ์ ปรากฏว่าค่า acid conversion เพิ่มสูงขึ้นเป็นถึง 71เปอร์เซ็น ทั้งจุลชีพสายพันธุ์ L. sake และสายพันธุ์ L.casei ต่างมีความสามารถที่ดีเยี่ยมในการย่อยสลายน้ำตาล glucose แต่ไม่ส่งผลเปลี่ยนแปลงใดๆกับน้ำตาล xylose และ cellobiose โดยภาพรวม กระบวนการที่เสนอสามารถใช้สำหรับการผลิตกรดแลคติกออกมาจากต้นถั่ว เหลืองอย่างมีประสิทธิภาพ



ตัวอย่างงานแปลตัวอย่างที่ 2
การกะประมาณกากวัสดุเหลือทิ้งจากงานก่อสร้างและการบริหารจัดการในประเทศไทย

บทคัดย่อ
เอกสารวิชาการฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการเกิดวัสดุเหลือทิ้งจากการก่อสร้างและการบริหารจัด การที่เกี่ยวข้อง ในกรณีของประเทศไทย จากการคาดการณ์ ชี้ว่าในช่วงระหว่างปี 2002 ถึงปี 2005 มีวัสดุเหลือทิ้งจากการก่อสร้างเกิดขึ้นเฉลี่ยปีละ 1.1 ล้านตันในประเทศไทย ซึ่งมีสัดส่วนคิดเป็น 7.7 เปอร์เซ็น ของกากวัสดุที่ถูกฝังกลบทั้งในหลุมฝังกลบและกองขยะแบบเปิดในแต่ละปี และแม้เศษวัสดุที่ว่านี้จะมีปริมาณและน้ำหนักที่มหาศาล เรากลับพบว่าเพิ่งมีการดำเนินการอย่างเป็นจริงเป็นจังในการจัดการเรื่องนี้ เมื่อไม่นานมานี้เอง การที่มีผู้ให้ความสนใจในการจัดการกากวัสดุเหล่านี้ ก็เนื่องจากตระหนักถึงปัญหาปริมาณที่นับวันยิ่งมากขึ้น,การนำเอาวัสดุเหลือ ทิ้งจากการก่อสร้างไปทิ้งในบริเวณพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม จึงมีการเสนอว่าน่าจะนำเอาวัสดุเหล่านี้นำกลับมาใช้ใหม่ หรือ recycle ซึ่งหากสามารถทำได้อย่างเป็นผลสำเร็จก็จะส่งผลดีกลับมาทั้งในรูปผลตอบแทบทาง เศรษฐกิจและผลดีทางสังคม โดยผู้เชี่ยวชาญคาดหมายว่า หากมีการนำเอาวัสดุเหลือทิ้งจากการก่อสร้างกลับมาใช้ใหม่จะก่อให้เกิด ตำแหน่งงานใหม่เพิ่มขึ้นถึง 70 ถึง 4000 ตำแหน่งเฉพาะในช่วงระหว่างปี 2002 ถึง 2005 นอกจากนี้ยังจะส่งผลให้เกิดการประหยัดพลังงานในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างมากถึง 3.0 x 105 GJ ต่อปีเลยทีเดียว หากประเทศไทยมีการบูรณาการการจัดการวัสดุเหลือทิ้งจากการก่อสร้างก็จะเป็น การเพิ่ม พูนยกระดับประสิทธิผลของการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่และส่งผลดีต่อระบบการกำจัด ขยะโดยรวม จากผล การวิจัยเรามีข้อเสนอแนะว่า ควรต้องมีการจัดทำบันทึก รายงานปริมาณจัดเก็บของกากของเสีย เศษวัสดุที่เกิดจากการก่อสร้างทั้งหมด เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับประเมินความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง ระบบหมุนเวียนวัสดุทั้งจากการก่อสร้างและรื้อถอนอาคาร กลับมาใช้ใหม่ ที่เป็นระบบการผลิตขนาดใหญ่



ตัวอย่างงานแปลตัวอย่างที่ 3

การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ของระบบการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ ในฟาร์มสุกรขนาดเล็ก โดยใช้ Activated carbon เป็นตัวกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S)


บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อ ประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของระบบการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ ในฟาร์มหมูขนาดเล็ก ทั้งที่มีและไม่มีระบบกำจัดเอาก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ออกไปก่อนที่จะนำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์ ในงานวิจัยของเราครั้งนี้ใช้กรณีศึกษาเป็นฟาร์มหมูขนาดเล็กในประเทศไทย ที่ใช้หน่วยบำบัดก๊าซก่อนจะนำไปใช้ในระบบผลิตไฟฟ้า ที่ประกอบไปด้วย วัสดุดูดซับ activated carbon อิ่มตัวด้วยสารละลาย โปรแตสเซียมไอโอได (KI) เข้มข้น 2 เปอร์เซ็น ระบบที่ว่านี้ มีก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ขาเข้าสู่ระบบดูดซับ เฉลี่ยเข้มข้น 2400 ppm และเราพบว่า หน่วยที่ว่านี้สามารถขจัดเอาก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ออกจากระบบได้ทั้ง 100 เปอร์เซ็น ได้ โดยที่วัสดุดูดซับมีพิกัดการดูดซับก๊าซชนิดนี้เท่ากับ 0.062 กก. ของก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ต่อ กก. ของวัสดุดูดซับ เราพบว่า ระยะเวลาคืนทุน สำหรับระบบที่ไม่มีการกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ จะเท่ากับ 4 ปี ภายใต้การประเมินโดยใช้เงื่อนไขสมมุติอ้างอิง (รัฐบาลให้การอุดหนุน ค่าติดตั้งเครื่องย่อยสลายกาก หรือ digester ประมาณ 45 เปอร์เซ็น และค่าไฟฟ้าคงที่เท่ากับ 0.06 ยูโรต่อกิโลวัตต์) และใช้สมมุติฐานว่ามีการใช้ก๊าซชีวภาพอย่างเต็มที่ในการผลิตกระแสไฟฟ้า แต่สำหรับกรณีที่มีการติดตั้งระบบกำจัดก๊าซด้วยนั้น ระยะเวลาคืนทุนจะยาวนานกว่าถึงเกือบสองเท่าของโรงผลิตที่ไม่ใช้ระบบกำจัด ก๊าซ แต่อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาคืนทุนยังคงอยู่ภายในช่วงอายุการใช้งานของ digester สำหรับโรงผลิตที่มีการติดตั้งระบบกำจัดก๊าซนั้น พบว่าค่าไฟฟ้ามีผลกระทบต่อระยะเวลาคืนทุนหรือความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ อย่างชัดเจน และหากเปลี่ยนเงื่อนไขค่าไฟฟ้า เป็น 0.07 ยูโรต่อกิโลวัตต์ ระยะเวลาคืนทุนของโรงผลิตที่มีการบำบัดก๊าซ จะลดเหลือ 5.5 ปี และมีแนวโน้มที่จะลดลงอีกหากค่าไฟฟ้าสูงขึ้น ผลการศึกษาของเรายังพบอีกว่า ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การคืนทุนเกิดขึ้น ช้าหรือเร็ว ก็ได้แก่ การได้รับการอุดหนุนจากภาครัฐ หากไม่มีการสนับสนุนใดๆแล้ว ระยะเวลาคืนทุนจะยาวนานออกไปถึง 7 ปี และ 11 ปี ในกรณีของโรงผลิตที่ไม่มีการบำบัดก๊าซและที่มีการบำบัดก๊าซ ตามลำดับ ภายใต้เงื่อนไขราคาค่าไฟฟ้าที่ใช้อ้างอิง แม้ว่าการติดตั้งระบบบำบัดก๊าซจะเป็นการเพิ่มภาระต้นทุนให้กับการผลิตไฟฟ้า จากก๊าซชีวภาพ แต่ก็เป็นสิ่งที่ควรต้องทำ ทั้งด้วยเหตุผลเพื่อป้องกันการผุกร่อนของเครื่องยนต์ และเพื่อประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม ในการช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซ ไฮโดรเจนซัลไฟด์/ซัลเฟอร์ไดอ๊อกไซด์ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้คนอย่างร้ายแรง


ยี่ห้อ: -รุ่น: -
สภาพ: ใหม่ความสมบูรณ์: 100%
ราคา: -ต้องการ: บริการ
เลขบัตรประชาชน: 350060033XXXIP Address: 110.49.41.43
ติดต่อ: วุฒิอีเมล์: 
โทรศัพย์: มือถือ: 
จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
ที่อยู่: -

คำค้น:  แปลเอกสารด่วน | แปลงานวิทยาศาสตร์ | แปลงานมีตัวอย่างให้ดู | เปอร์เซ็นการย่อยน้ำตาล | ประโยชน์ของต้นถั่วเหลือง | บทคัดย่อ วิศวะ | การผลิตกรดแลคติกจากวัสดุเหลือทิ้ง | ประโยชน์ต้นถั่วเหลือง | ต้นถั่วเหลือง | น้ำตาล 1 เปอร์เซ็น |



ดูสินค้าอื่นๆ | ลงประกาศ | เลื่อนประกาศขึ้น | ลบประกาศ | แก้ไขประกาศ

[ รับจำนอง ขายฝาก บ้าน ที่ดิน ทั่วประเทศ กู้เงินง่าย ได้เงินไว ไม่เช็คแบล็คลิส ]